เข้าเล่มหนังสือ

เอกสารงานพิมพ์ต่างๆ ที่ใช้ในการ เข้าเล่มหนังสือ ใช่ว่าจะเข้าเล่มอะไรก็ได้ คนพิมพ์หนังสือจำเป็นต้องมีความรู้เบื้องต้นก่อนจะทำหนังสือ เพื่อที่จะได้คัดเลือกรูปแบบการเข้าเล่มได้อย่างเหมาะสมกับเอกสารงานพิมพ์ในแต่ละประเภท หากเป็นผู้ที่รักการอ่านหนังสือจะสังเกตได้ว่า หนังสือแต่ละเล่มจะมีรูปแบบการเข้าเล่มหนังสือ ที่แตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปแล้วมักจะพบเห็นหนังสือที่มีการเข้าเล่มในรูปแบบไสกาวเป็นซะส่วนใหญ่ มีความเรียบร้อยและสวยงาม งานเข้าเล่มจึงถือว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำหนังสือ เพื่อให้หนังสือแต่ละเล่มนั้นมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น ทั้งยังช่วยให้เกิดความน่าอ่าน พกพาง่าย และสะดวกต่อการใช้งานอีกด้วย

รู้ไหมว่าจริงๆ แล้ว รูปแบบของการ เข้าเล่มหนังสือ นั้นมีหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น หนังสือ สมุด กระดาษโน้ต เมนูอาหาร ปฏิทิน เป็นต้น รูปแบบหนังสือสำหรับอ่านเขียนเหมือนกันแต่มีวิธีการเข้าเล่มที่ต่างกัน ซึ่งจะมีความแตกต่างกันอย่างไร รูปแบบเข้าเล่มแบบไหนเป็นที่นิยมใช้กันและจะมีอะไรบ้างนั้น วันนี้จึงได้เก็บรวบรวมข้อมูลมาฝากทุกคนกัน

วิธีเข้าเล่มหนังสือแบบ 5 แบบหลักที่ใช้งาน

  1. เข้าเล่มแบบไสกาว ( Perfect Bindding )
    เหมาะสำหรับงานประเภทหนังสือทั่วไป หนังสือเรียน นิตยสาร นิยาย เรื่องสั้น ที่มีความหนาไม่มากหรือจำนวนหน้ากระดาษประมาณ 70 แผ่นขึ้นไป กระดาษที่เริ่มใช้ 70-160 แกรม โดยใช้กาวเป็นตัวเชื่อมติดประกบเข้ากับสันเล่ม ซึ่งวิธีนี้มีข้อควรระวังตั้งแต่การตั้งค่าหน้ากระดาษ การทำหน้าปก ควรเผื่อเหลือเผื่อขาดระยะการตัดขอบให้ดี การเข้าเล่มประเภทนี้จะทำให้รูปเล่มหนังสือมีความน่าอ่าน เรียบร้อย สวยงาม และแข็งแรง เมื่อกางอ่านหนังสือจะกางได้ถึง 180 องศา การเข้าเล่มแบบไสกาวจึงเป็นวิธีการเข้าเล่มที่นิยมใช้กันมากที่สุดและราคาถูกเมื่อสั่งทำในปริมาณที่มากขึ้น
  2. เข้าเล่มแบบเย็บมุงหลังคา ( Saddle Stitching )
    เหมาะสำหรับงานประเภทสมุดโน้ต สมุดจดบันทึก แคตตาล็อกสินค้า หนังสือทั่วไป ที่มีขนาดความหนาของกระดาษไม่เกิน 80 แผ่น กระดาษที่เริ่มใช้ 70-260 แกรม โดยนำกระดาษที่ต้องการเข้าเล่มมาพับครึ่งนึงของ A4 ให้มีลักษณะเป็นแนวตั้งแล้วกางออก หลังจากนั้นจึงใช้ลวดเย็บกระดาษหรือแม็กทำการแม็กยึดสันตรงที่พับครึ่งไว้ประมาณ 2-3 ตัว เป็นอันเสร็จเรียบร้อย วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายสุด รวดเร็ว แต่เมื่อเข้ารูปเล่มเรียบร้อยแล้วอาจจะไม่สวยมากนักเนื่องจากการพับครึ่งจะทำให้กระดาษเหลื่อมออกมาไม่เท่ากันนั่นเอง
  3. เข้าเล่มแบบเย็บกี่ ( Thread Sewing )
    เหมาะสำหรับงานประเภทพจนานุกรม สารานุกรม นวนิยาย ที่มีขนาดความหนาของกระดาษประมาณ 500 แผ่นขึ้นไป โดยจัดแยกย่อยกระดาษออกไว้เป็นชุดๆ แล้วจึงใช้วิธีเดียวกันกับการเข้าเล่มแบบมุงหลังคาแต่เปลี่ยนจากการเย็บแม็กเป็นการใช้รอยด้ายแทน จากนั้นจึงนำชุดย่อยทั้งหมดมารวมเข้าเล่มเป็นเล่มใหญ่อีกที เนื่องจากจำนวนหน้ากระดาษที่ค่อนข้างเยอะจนถึงเยอะมาก วิธีการเข้าเล่มแบบนี้จึงมีความยากมากและยังทำให้ราคาการเข้าเล่มมีราคาสูงตามไปด้วยแต่ถือว่าคุ้มเพราะแลกมากับความแข็งแรงและคงทนเช่นกัน
  4. เข้าเล่มโดยเข้าห่วง ( Ring Binding )
    เหมาะสำหรับงานประเภทสมุดโน้ต สมุดบันทึก หรือปฏิทิน ที่มีขนาดความหนาของกระดาษกลางๆ ไม่หนามากหรือประมาณ 0.5-3.2 เซนติเมตร กระดาษที่เริ่มใช้ 160-350 แกรมโดยวิธีการใส่ห่วง มีทั้งห่วงแบบพลาสติก ห่วงเหล็ก และยังมีสีสันให้เลือกมากมาย การเข้าเล่มโดยเข้าห่วงนี้มีข้อเสียที่ราคาค่อนข้างสูง แต่มีข้อดีในลักษณะของการเปิดอ่าน เปิดเขียน เนื่องจากสามารถกางรูปเล่มแบออกมาได้ถึง 360 องศาเลยทีเดียว
  5. เข้าเล่มกาวหัว ( Padding )
    เหมาะสำหรับงานประเภทกระดาษโน้ต โพสอิท สมุดฉีก บิลใบเสร็จ คูปองส่วนลด ที่มีขนาดความหนาของกระดาษปานกลางหรือประมาณ 50 แผ่นขึ้นไป โดยมีวิธีการนำกาวมาทาที่สันหัวกระดาษที่เรียงรอไว้แล้ว ทิ้งไว้สักพัก รอให้แห้งและเป็นอันเสร็จเรียบร้อย เป็นรูปแบบการเข้าเล่มที่ง่ายมากที่สุดอีกวิธีหนึ่ง เนื่องจากการเข้าเล่มกาวหัวจะเป็นเพียงการทากาวไว้คร่าวๆ เท่านั้นไม่ได้ยึดกาวแบบแน่นมากนัก เพื่อที่จะได้ทำการฉีกกระดาษออกมาใช้งานได้ง่ายๆ

จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันมี ร้านเข้าเล่มหนังสือ เปิดให้รับบริการอยู่หลายเจ้า ส่วนใหญ่แล้วร้าน เข้าเล่มหนังสือ แบบนี้จะเปิดร่วมกับการถ่ายเอกสารควบคู่กันไป แต่ร้านเหล่านี้จะประสบปัญหากรณีที่ลูกค้ามาทำงานในปริมาณที่มาก Jprint แหล่งศูนย์รวมเกี่ยวกับงานพิมพ์กระดาษแบบครบวงจร รวมถึงการ เข้าเล่มหนังสือราคา ถูกพร้อมให้คำปรึกษา/แนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้วยการทำงานอย่างเป็นระบบ รวดเร็ว รองรับมาตรฐานจากระบบ ISO 9001 การันตีคุณภาพผลงานเป็นที่พึงพอใจของลูกค้า สำหรับคนที่สนใจจะพิมพ์หนังสือเพื่อเข้าเล่มนั้น คนพิมพ์หนังสือจึงจำเป็นต้องรู้จักรูปแบบการเข้าเล่มหนังสืออย่างคร่าวๆ ด้วยเพราะรูปแบบการเข้าเล่มนั้นมีความสำคัญไม่น้อย เอกสารงานพิมพ์แต่ละประเภทต่างก็มีการเข้าเล่มที่แตกต่างกันออกไป ฉะนั้น จึงควรเลือกการเข้าเล่มหนังสือให้มีความเหมาะสมกับเล่มของหนังสือนั้นๆ Jprint ยินดีต้อนรับและพร้อมดูแลคุณทุกขั้นตอน หากท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ ต้องการจะสั่งพิมพ์หนังสือแล้วอยากจะดูตัวอย่างเชิญได้ที่ https://jprint.co.th/product-category/office-equipment/book/